วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

"ถั่วพู" พืชศึกษาโรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม


ชื่อสามัญ : Winged Bean 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psophocarpus tetragonolobus Linn.
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะทั่วไปของถั่วพู ถั่วพูเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเลื้อยได้ ใบออกจากลำต้นแบบสลับ ใบย่อย 3 ใบ ใบรูปร่างคล้ายไข่ป้อม ปลายและขอบใบแหลม ดอกเป็นดอกย่อยสีขาวอมม่วง ผลเป็นผักแบนยาวมี 4 ปีก ตามความยาวของฝัก ฝักยาวประมาณ 3- 4 นิ้ว ภายในเมล็ดกลมเรียบเป็นมัน สีขาว น้ำตาลดำ หรือเป็นจุด รากออกเป็นหัวมีปมอยู่ใต้ดินแต่ละปมมีขนาดใหญ่

คุณค่าทางอาหาร : ถั่วพู 100 กรัม ให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย น้ำ 93.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 2.4 กรัม โปรตีน 2.1 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 43 มิลลิกรัม เหล็ก 0.5 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.35 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม วิตามินซี 32 มิลลิกรัม

การปลูก การดูแลรักษาถั่วพู : การปลูกถั่วพู การเตรียมเมล็ด เนื่องจากเมล็ดถั่วพูเป็นเมล็ดที่แข็ง จึงต้องนำไปแช่ในน้ำอุ่นอุณหภูมิที่สามรถนำมือแช่ได้นาน แล้วนำผ้าขาวบางมาห่อเมล็ดถั่วพู ทิ้งไว้ในบริเวณที่มีความชื้นเช่นในห้องน้ำ เป็นเวลา 3 คืน การเตรียมดินและปลูก ไถยกร่องแล้วใส่ปุ๋ยคอกมารองพื้นในหลุมที่จะปลูก ระยะห่างระหว่างแถวควรให้ห่างประมาณ 2 เมตรและระหว่างต้นควรห่างประมาณ 1 เมตร นำไม้ค้างมาปักไว้เพื่อให้ถั่วพูเลื้อยขึ้นได้ ในหนึ่งหลุมควรใส่เมล็ด 2-3 เมล็ด ประมาณ 5วันถั่วพูเริ่มงอก อายุ 70 – 80 วัน สามารถเก็บเกี่ยวได้ รดน้ำทุกวันเช้าเย็น ใส่ปุ๋ยชีวภาพและฉีดสมุนไพรไล่แมลงทุกๆ 7 วัน การเก็บเกี่ยว ควรเก็บเกี่ยวถั่วพูในตอนเช้าหรือตอนเย็นเพราะกลีบถั่วพูเป็นกลีบที่บางถ้า เก็บตอนสายหรือแดดร้อนมากจะทำให้กลีบถั่วพูช้ำไม่สวยลูกค้าไม่ต้องการ นำใบตองกล้วยหรือถุงพลาสติกรองตะกร้าเพื่อป้องกันไม่ให้กลีบถั่วพูช้ำ การจำหน่าย ถั่วพูเป็นพืชสวนครัวที่ปลูกง่าย ลงทุนน้อย ดูแลรักษาง่าย ปลูกได้ตลอดทั้งปี มีตลาดรองรับที่แน่นอน

ประโยชน์ของถั่วพู : นอกจากนั้นการกินถั่วพูก็ยังมีกากใยอาหารมาก ทำให้ระบบขับถ่ายของเราเป็นไปอย่างปกติ ท้องไม่ผูก นอกจากนั้นแล้ว หัวของถั่วพูก็สามารถนำไปตากแห้งแล้วคั่วไฟให้เหลือง นำมาชงเป็นน้ำดื่มชูกำลังสำหรับคนป่วยหรืออ่อนเพลียง่ายได้อีกด้วย





ข้อดีของถั่วพู : เป็นพืชที่รับประทานได้แทบทุกส่วนของต้น ในบรรดาพืชที่มนุษย์ปลูกเพื่อใช้รับประทานผลผลิตนั้น มีอยู่น้อยชนิดเหลือเกินที่เราสามารถนำเอาส่วนต่าง ๆ มาใช้รับประทานได้ทั้งหมด ถั่วพู เป็นพืชชนิดหนึ่งที่แทบทุกส่วนของต้นใช้รับประทานได้ ส่วนต่าง ๆ ของถั่วพูที่รับประทานได้มีดังต่อไปนี้



ยอดอ่อน เมื่อต้นถั่วพูเจริญจากเมล็ดหรือหัวใต้ดินไต่ขึ้นร้านหรือเสาค้ำแล้ว 
ถ้าหากเด็ดยอดอ่อนออกบ้าง ก็จะช่วยให้ต้นแตกกิ่งก้านสาขามากยิ่งขึ้น 
ยอดอ่อนเหล่านี้อุดมไปด้วยโปรตีนและแร่ธาตุ และมีรสชาติอร่อย 
จึงใช้เป็นผักรับประทานได้โดยทำเป็นผักต้มจิ้มน้ำพริก ผัด ใส่ในแกงจือ
 (เช่นเดียวกับยอดตำลึง)

ใบอ่อน เมื่อเด็ดยอดอ่อนออกแล้ว ถั่วพูจะแตกกิ่งก้านสาขามาก 
(และมียอดอ่อนให้เด็ดมากขึ้นอีก) 



แต่ใบที่ติดอยู่กับยอดที่เหลือก็จะเจริญขึ้น ก่อนที่ใบเหล่านี้จะแก่ 
เราจะเด็ดมารับประทานได้โดยทำเป็นแกงจืด ผักต้ม ผัด ฯลฯ

ดอก เมื่อต้นมีอายุพอสมควรแล้ว ถั่วพูจะออกดอกเป็นช่อประมาณ 2-6 ดอก 
(ระยะเวลาแล้วแต่พันธุ์ ตั้งแต่ประมาณ 2-4 เดือน) 
ช่อดอกเหล่านี้หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะติดฝัก ซึ่งถ้าปล่อยให้ติดฝักมากเกินไป 
ต้นอาจโทรมเร็ว จึงควรเด็ดออกมารับประทานเสียบ้าง 
อาจนำไปทำเป็นผักสลัด ทอดกับน้ำมัน (รสชาติคล้ายเห็ด) 
ชุบแป้งทอด (แบบดอกโสน) หรือชุบไข่ทอดก็ได้

 ฝักอ่อน เมื่อดอกบานและเกิดการผสมพันธุ์แล้ว ฝักก็จะเริ่มเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว 

โดยทั่ว ๆ ไป จะใช้เวลาประมาณ สัปดาห์ 
ฝักก็จะใหญ่ที่สุดที่เหมาะสำหรับนำไปบริโภค แต่อาจเก็บฝักขนาดเล็กกว่านี้ไปบริโภคได้ 
ฝักเหล่านี้อาจใช้รับประทานแบบต่าง ๆ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น 
หรือจะดัดแปลงวิธีการอย่างใดก็ได้ เช่น ชุบไข่ทอด (แบบมะเขือยาว ชะอม) 



เมล็ดอ่อน ฝักที่มีอายุเกิน สัปดาห์นั้น จะเริ่มมีเสี้ยนมากจนไม่เหมาะที่จะรับประทาน 
แต่เมล็ดภายในฝักยังอ่อนพอที่จะนำไปรับประทานได้ 
โดยการนำไปทำเป็นผักต้ม ผัด ฯลฯ แบบเดียวกับถั่ว pea ของต่างประเทศ


เมล็ดแก่ เมื่อฝักแก่และแห้งเหี่ยวแล้ว เมล็ดที่อยู่ภายในจะยังไม่แตกออก หากมีมาก เมล็ดเหล่านี้สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ได้ ทาง คือ
 
 1) สกัดน้ำมัน - ได้น้ำมัน 17% เป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดี 
เพราะมีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acids)
 จึงไม่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดเส้นเลือด 
ดังเช่นน้ำมันบางประเภท น้ำมันเมล็ดถั่วพู
 จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นน้ำมันหุงต้ม

 2) น้ำมันสกัด-ได้ โปรตีน - มีอยู่ถึง 34% เป็นโปรตีนที่มีคุณค่าทางอาหาร
ไล่เลี่ยกับเมล็ดถั่วเหลือง ซึ่งจัดว่าเป็นโปรตีนจากพืชที่ดีเยี่ยม
 ใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหารได้ดีเช่นเดียวกับเมล็ดถั่วเหลือง และดีกว่าตรงที่ไม่มีกลิ่นเต้าหู้
เมล็ดถั่วพูมีเปลือกแข็งจึงต้องใช้เวลานานในการหุงต้มหรือคั่ว 
โดยปกติจะใช้เวลาต้มถึง 2-3 ชั่วโมง
นอกจากน้ำมันและโปรตีนแล้ว เมล็ดแก่ของถั่วพูยังมีสาร tocopherol ในปริมาณสูง
 สารนี้เป็น antioxidant ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในการไปต่อต้านตัวทำลายไวตามินเอ
 ดังนั้นจึงทำให้การใช้ประโยชน์ของไวตามินเอ ในร่างกายจากอาหารได้ผลดียิ่งขึ้น

 หัว หัวถั่วพูมีโปรตีนอยู่สูงในบรรดาพืชหัวทั้งหลาย กล่าวคือในสภาพสด มี 12-15% 
แต่ในสภาพแห้งมีมากกว่า 20% เปรียบเทียบกับมันสำปะหลัง 1% 
มันฝรั่งและมันเทศ 2% ใช้รับประทานแบบหัวมันฝรั่งและมันเทศ เช่น นึ่ง ต้ม เผา เชื่อม
นอกจากมีคุณค่าทางอาหารแล้ว หัวถั่วพูยังมีรสชาติอร่อยอีกด้วย

อาหารจากถั่วพู


ยำถั่วพู